วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บ้านจัดสรรชั้นเดียว และบ้านเดี่ยว

บ้านจัดสรรชั้นเดียว และบ้านเดี่ยวต่างกันอย่างไร

สวัสดีครับพวกเราทีมงานสันทรายสิริ วันนี้พวกเรา จะมานำเสนอบทความสำหรับบ้านจัดสรรชั้นเดียว   สาระดีๆเกี่ยวกับบ้าน ให้ท่านได้อ่านกัน
“การจัดสรรที่ดิน” คือ การจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่ว่าจะแบ่งจากที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน และให้หมายความรวมถึงการแบ่งแปลงย่อยที่ไม่ถึงสิบแปลงแต่ต่อมาแบ่งแยกเพิ่มเติมภายในสามปีจนมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปด้วย
บ้านจัดสรรชั้นเดียว และบ้านเดี่ยวต่างกันอย่างไร
บ้านเดี่ยว คือ ตัวอาคารถูกสร้างบนที่ดินโดยไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่ง ไปติดกับอาคารข้างเคียง มีอาณาเขตรอบตัวเป็นเอกเทศ
จะเป็นบ้านที่คุณสร้างเอง หรือ โครงการหมู่บ้านสร้าง ก็คือ บ้านเดี่ยวเหมือนกัน(ตามกม.จัดสรร บ้านเดี่ยวต้องมีที่ดิน 50 ตร.วา ขึ้นไป)สิ่งที่ต่างกันคือ คุณสร้างเอง หรือ โครงการสร้างที่เรียกว่าหมู่บ้านจัดสรร

หมู่บ้านจัดสรรชั้นเดียว คือ ผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตจัดสรรแบ่งแปลงที่ดินเพื่อสร้างบ้านขาย
โดยผู้ประกอบการสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็นภายในหมู่บ้านไว้ให้ เช่น ถนน ไฟฟ้าแสงสว่างริมทาง ฯ
(อาจจะมีบางโครงการจัดสรรที่ดินแบ่งแปลงขายเฉพาะที่ดินให้คุณไปสร้างบ้านตามแบบของคุณ ในที่ดินที่จัดสรรไว้ให้)

บ้านสร้างเอง
โดยมากราคาที่ดินจะถูกกว่า(ถ้าที่ดินทำเลเดียวกัน) เพราะไม่ต้องสร้างสาธารณูปโภคแบบหมู่บ้านจัดสรร
ราคาตัวบ้านถูกกว่า เพราะสร้างอยู่เอง ราคาก็ตามที่จ้างผู้รับเหมาสร้าง
บ้านจัดสรร ราคาที่ดินแพงกว่า ตามเงื่อนไขที่บอกราคาตัวบ้านแพงกว่า เพราะ เขาจ้างผู้รับเหมามาสร้าง เพื่อขายเอากำไร
มีค่าส่วนกลางที่ต้องจ่าย เพราะ สาธารณูปโภคที่มีต้องมีการดูแล

ปัญหาทางด้านนิติบุคคลของบ้านจัดสรรค์
สำหรับข้อเสียของการสร้างบ้านจัดสรรชั้นเดียว ในเรื่องนิติบุคคล ก็มีอยู่บ้าง เราจะขอยกตัวอย่าง ปัญหา ที่ถูกถามกันมาบ่อยครั้ง ดังต่อไปนี้
ปัญหาเรื่องนิติบุคคลบ้านจัดสรร ข้อที่ 1
ถาม : กรณีที่หมู่บ้านแต่ละเฟสมีพื้นที่สาธารณูปโภคแบ่งไว้เป็นเฟสๆ อย่างชัดเจน แต่มีทางเข้าออก ทางเดียวของหมู่บ้านแต่ละเฟส จะสามารถจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็น 2 นิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือหลายนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้หรือไม่

ตอบ : การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จัดตั้งตามแผนผังโครงการที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรร จากคณะกรรมการจำนวน 1 โครงการต่อ 1 นิติบุคคล แม้ว่าจะมีการแบ่งส่วนดำเนินการออกเป็นหลายเฟส ไม่ว่าสาธารณูปโภคจะแยกกันไว้ชัดเจนหรือไม่ก็ตาม (มาตรา 45)
ข้อมูลถาม - ตอบ โดย คุณอิสระ บุญยัง อุปนายกฝ่ายวิชาการ
ปัญหาเรื่องนิติบุคคลบ้านจัดสรร ข้อที่ 2
ถาม : กรณีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ไม่สามารถรับโอนที่ดินเป็นสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จทัน ตามกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดไว้ ผู้จัดสรรที่ดินสามารถที่จะโอนที่ดินอัน เป็นสาธารณูปโภคให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือโอนให้เป็นสาธารณประโยชน์ได้ หรือไม่

ตอบ : ระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง กำหนดให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเมื่อได้ดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแจ้งให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบ พร้อมทั้งกำหนดวันจดทะเบียนโอนทรัพย์สิน และส่งมอบจำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบโดยการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดต้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรายสุดท้ายได้รับแจ้งจากผู้จัด-สรรที่ดิน แต่หากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่สามารถรับโอนที่ดินแปลงสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จภายในกำหนดผู้จัดสรรที่ดินก็ไม่สามารถโอนที่ดินแปลงสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะให้กับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหรือโอนให้สาธารณประโยชน์ได้ เนื่องจากตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 กำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะให้เป็นสาธารณประโยชน์ได้เฉพาะกรณีไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเท่านั้น
ข้อมูลถาม - ตอบ โดย คุณอิสระ บุญยัง อุปนายกฝ่ายวิชาการ
ปัญหาเรื่องนิติบุคคลบ้านจัดสรร ข้อที่ 3
ถาม : กรณีผู้จัดสรรที่ดิน ที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินภายในโครงการที่ขอจัดสรรให้กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรไปหมดทั้งโครงการแล้ว หรือมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์แต่ยังไม่พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนงาน และวิธีการที่ขอจัด สรรจะสามารถแจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทำการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้หรือไม่

ตอบ : ไม่ได้
ข้อมูลถาม - ตอบ โดย คุณอิสระ บุญยัง อุปนายกฝ่ายวิชาการ
ปัญหาเรื่องนิติบุคคลบ้านจัดสรร ข้อที่ 4
ถาม : ความรับผิดชอบของผู้จัดสรรที่ดิน ที่มีหน้าที่ต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามพระราช บัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มีค่าใช้จ่ายตามประเภทและชนิดใดบ้าง

ตอบ : สาธารณูปโภคภายในโครงการจัดสรร เช่น ถนน สวน สนามเด็กเล่น ท่อระบายน้ำ เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาให้คงสภาพดังที่ได้จัดทำขึ้น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ได้แก่ การขุดลอกท่อระบายน้ำ การซ่อมแซมถนน กรณีชำรุด การตัดต้นไม้ สนามหญ้าในสวน เป็นต้น
ข้อมูลถาม - ตอบ โดย คุณอิสระ บุญยัง อุปนายกฝ่ายวิชาการ
ปัญหาเรื่องนิติบุคคลบ้านจัดสรร ข้อที่ 5
ถาม : เจ้าหน้าที่ที่ดินไม่รับคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แต่จะใช้วิธีการตรวจสอบ และรับคำขอจดทะเบียนในภายหลัง ทำให้จดทะเบียนไม่ทันตามกำหนดระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินได้แจ้งไว้

ตอบ : ในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กฎหมายกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องแจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายทราบ โดยกำหนดระยะเวลาให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และรับโอนทรัพย์สินตามบัญชีให้แล้วเสร็จ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรายสุดท้ายได้รับแจ้ง และหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ยังไม่สามารถจัดตั้งนิติบุคคลได้ ผู้จัดสรรที่ดินก็จะต้องดำเนินการตามมาตรา 44 (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ต่อไป และในส่วนของเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ตามเวลาที่กำหนดด้วยเช่นกัน



บ้านจัดสรรชั้นเดียว   สันทรายสิริมีจัดเด่นอยู่ที่การปล่อยให้ความเปลือยเปล่าของเนื้อปูนเข้ามาสร้างเสน่ห์เป็นตัวเอกของเรื่อง เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งเพียงเล็กน้อยที่เชื่อมโยงกับบรรยากาศ ก็สามารถดึงเอาสไตล์สุดคลาสสิกอันนุ่มนวลและเรียบง่ายเข้ามาไว้ได้ พร้อมให้เป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อนที่สัมผัสได้ถึงความเป็นส่วนตัวได้อย่างมากมายทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น